ทดสอบเข้าหน้า Web management ผ่านไอพีของ Router เช่น 192.168.1.1 ซึ่งเป็น Default IP ที่ทาง ผู้ให้บริการ Internet ความเร็วสูงตั้ง เมื่อเข้าผ่านหน้าเว็บระบบจะบังคับให้กรอก Password สำหรับ Login ถึงจะเข้าไปจัดการในระบบ ของเร้าเตอร์ได้ |
 |
จากนั้น ผมได้พบไฟล์ ที่หน้าสนใจ เพราะเป็นไฟล์ที่เก็บค่า username และ password ของผู้ใช้งาน Internet ชื่อไฟล์คือ wzIspUserPwd_true.asp ซึ่งไฟล์นี้หาได้จากการ telnet เข้าไปที่เร้าเตอร์ จากนั้นก็ ดูรายชื่อไฟล์ ดังภาพ |
 |
จากการทดสอบเมื่อทราบว่ามีไฟล์นี้มีอยู่จริง และนำไฟล์นี้ไปวางแล้วคลิกผ่านหน้าเว็บปกติธรรมดา (http://192.168.1.1/cgi-bin/wzIspUserPwd_true.asp) จะไม่สามารถเข้าถึงไฟล์ดังกล่าวได้ เพราะเร้าเตอร์มีการตั้งค่าความปลอดภัย ต้องมีการยืนยันตัวตน ก่อนเสมอถึงจะสามารถเข้าถึงไฟล์ดังกล่าวได้ |
 |
หลังจากนั้นได้ทำการแก้ไข ค่าให้มีการเรียกหน้าเว็บใหม่ เมื่อมีการใส่ค่า password โดยตัวอย่างดังภาพ
ซึ่งค่าปกติ ของเร้าเตอร์ที่มีการตั้งไว้ เมื่อมีการใส่ พาสเวิด แล้วคลิกปุ่ม Login จะมีการเรียกไปที่หน้าเพจ SavingAuthorize.asp นี้เสมอ จากการทดสอบ เมื่อแก้ไขค่าดังกล่าว จาก SavingAuthorize.asp เป็นค่า wzIspUserPwd_true.asp และ พาสเวิด ก็ใส่พาสมั่วๆ แล้วกดปุ่ม Login ปรากฏว่า สามารถเข้าถึงไฟล์ wzIspUserPwd_true.asp โดยไม่ต้องยืนยันตัวตนที่ถูกต้อง |
 |
ค่าที่แก้ไข ปกติคือ
<form action="/cgi-bin/SavingAuthorize.asp" method="post" name="authorizeform" form="">
แก้ไขค่าเป็น
<form action="/cgi-bin/ wzIspUserPwd_true.asp " method="post" name="authorizeform" form="">
- แล้วทดลองเข้าหน้า Login อีกครั้งพร้อมกรอก Password อะไรก็ได้ จะได้ผลลัพธ์ตามภาพซึ่งแสดงการถึงไฟล์ wzIspUserPwd_true.asp และเห็นรายละเอียด Username & Password |
 |
สามารถเข้าถึงไฟล์อื่น ยกตัวอย่างเช่นไฟล์ WLAN_General.asp ซึ่งเป็นไฟล์กำหนดการตั้งค่า WIFI ดังนั้น พาสเวิด แม้จะมีการตั้งยากแค่ไฟล์ เข้ารหัสแบบ WPA2 อย่างไรก็ตาม ก็สามารถเห็น พาสเวิด ได้ ดังภาพซึ่งแสดงรายละเอียดหน้า WLAN_General.asp และ Password WIFI
เบื้องต้นข้าพเจ้าทดสอบเพิ่มอีก WAN.asp , rpSysAdmin.asp ซึ่งสามารถใช้วิธีการเดียวกันเข้าถึงได้เลย |
 |